สีสะท้อนความร้อนเซรามิคโค๊ตติ้ง

Last updated: 26 มี.ค. 2567  |  13141 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พ่นสีสะท้อนความร้อนเซรามิคโค๊ตติ้ง

        เซรามิคโค๊ตติ้ง เป็นเทคโนโลยีของสีที่เป็นฉนวนสะท้อนความร้อนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์พัฒนามาจาก CERAMIC MICROSPHERES ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบวัสดุเคลือบกระสวยอวกาศของ องค์การ NASA (NASA SPACE SHUTTLE) มีคุณสมบัติในการสะท้อนพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้สูงมาก จึงช่วยป้องกันและช่วยลดความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารได้ดีเยี่ยม

แหล่งที่มาของความร้อนโดยส่วนมาก ได้แก่ ดวงอาทิตย์

         ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อนอันมหาศาล เมื่อพลังงานในรูปของแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ถูกปลดปล่อย และเดินทางมาสู่โลก รังสีบางส่วนจะถูกดูดกลืนเอาไว้โดยชั้นบรรยากาศของโลก ได้แก่

  • รังสี UV (Ultraviolet: รังสีอัลตร้าไวโอเลต) รังสีที่มีอยู่ในแสงอาทิตย์ (Solar Spectrum) เมื่อรังสี UV ตกกระทบถูกพื้นวัสดุใดๆ จะไม่ก่อให้เกิดความร้อน แต่จะทำให้วัตถุนั้นเกิดการเสื่อมสลาย หรือถูกกัดกร่อนจากรังสี UV
  • แสง VIS (Visual Light: แสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า) คือ แสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นแสงที่มีอยู่ในสเปคตรัมของแสงอาทิตย์ เช่นกัน โดยเมื่อแสง VIS นี้ตกกระทบพื้นผิววัตถุใด แสง VIS นี้ก็จะเปลี่ยนจากพลังงานในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปเป็นพลังงานความร้อน และพลังงานความร้อนดังกล่างนี้ จะทำให้วัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น
  • รังสี IR (Infra Red: รังสีอินฟราเรด) เป็นรังสีที่มีอยู่ในสเปคตรัมของแสงอาทิตย์ เช่นกัน รังสีอินฟราเรดนี้ เป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่นเดียวกับรังสี UV และเมื่อรังสีอินฟราเรดนี้ตกกระทบกับพื้นผิวของวัตถุใดๆ รังสีดังกล่าวก็จะเปลี่ยนในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งจะทำให้วัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างมาก

 

 

การถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคา และผนังอาคาร

           เมื่อหลังคาหรือผนังของอาคาร ได้รับพลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ก็จะดูดกลืนพลังงานของแสงอาทิตย์เป็นพลังงานความร้อน ทำให้พื้นผิวภายนอกของหลังคา หรือผนังอาคารมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเมื่อพื้นผิวภายนอกมีอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะเกิดผลต่างของอุณหภูมิ ระหว่างพื้นผิวภายนอก และภายในหลังคาหรือผนังอาคาร ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) ในลักษณะการทำความร้อน (Heat Conduction) ขึ้นระหว่างพื้นผิวทั้ง 2 ด้าน เป็นผลทำให้ตัวอาคารร้อนขึ้นและเกิดอุปสรรคต่อระบบของการปรับอากาศ ในส่วนของพลังงานไฟฟ้า ในรักษาอุณหภูมิภายในห้องปรับอากาศด้วย เป็นต้น

 

วิธีป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร


           ใช้ฉนวนป้องกันความร้อน เคลือบที่ผิวด้านนอกของอาคาร เป็นการป้องกันความร้อน โดยการใช้ฉนวนกันความร้อนชนิดสะท้อนรังสีความร้อน (Ceramic Coating) เคลือบหรือทาไว้ที่พื้นผิวด้านนอกของอาคาร หรือโรงงานบริเวณหลังคาหรือผนังอาคาร โดยฉนวนประเภทนี้เมื่อได้รับรังสีความร้อนจากการแผ่รังสีของแสงอาทิตย์ ก็จะทำหน้าในการสะท้อนรังสีดังกล่าวออกไป (มากกว่า 85%) คงเหลือความร้อนเพียงบางส่วน ทำให้ผิวด้านนอกของอาคารได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ในปริมาณที่น้อยลง ส่งผลให้ภายในตัวอาคาร "เย็นขึ้น"

 

การลงทุนที่คุ้มค่า (Worth For Investment)

            วิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ประสิทธิภาพสูงในการป้องกันความร้อนสู่อาคาร ช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย จากการใช้เครื่องปรับอากาศและฉนวนกันความร้อนชนิดสะท้อนรังสีความร้อน (Ceramic Coating) ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของหลังคา และผนังอาคารให้ยาวนานขึ้นอีก 5-10 ปี


สีฉนวนกันความร้อน ทำงานได้อย่างไร

             ระบบของสี Ceramic Coating (สีขาว White Pigments) ประกอบด้วย ผงไททาเนียม - ไดออกไซด์ (Titanium - Dioxide) และอลูมินั่ม - ไตรไฮเดรต (Aluminum - Trihydrate) ซึ่งเป็นสารที่มีเสถียรภาพความทนทานสูง จึงสามารถต้านทานต่อสภาพอากาศและมลภาวะได้ดี อะคริลิค อีลาสโตเมอริค เรซิ่ง (Acrylic Elastomeric Resins) มีคุณสมบัติ คือ

  • มีความยืดหยุ่นสูงเมื่อเคลือบบนพื้นผิวของหลังคาและผนัง จะช่วยลดปัญหารอยแตกร้าว แตกลายงา และป้องกันไม่ให้เกิดการแตกร้าวขึ้นใหม่
  • เมื่อเคลือบหลังคาหรือผนังอาคาร จะครอบคลุมทุกซอกมุมของพื้นผิว ไร้รอยต่อ
  • ช่วยป้องกันรัง UV, VIS, IR และมลภาวะต่างๆ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  • มีคุณสมบัติพิเศษ ในการต้านทานการซึมผ่านของน้ำ และคุณสมบัติในการส่งผ่านและคายความชื้นออก เมื่อสภาพอากาศชื้น โพลิเมอร์จะพองตัวขึ้น และดันตัวกันอย่างหนาแน่น เพื่อไม่ให้น้ำซึมผ่านได้ เมื่ออากาศแห้ง โพลิเมอร์จะหดตัวลงและเกิดช่องว่าง      ทำให้ความชื้นสามารถถ่ายถ่ายเทออกสูอากาศภายนอกได้ 


องค์ประกอบหลักที่สำคัญของสีเซรามิคโค๊ตติ้ง Ceramic Coating

          อนุภาคเซรามิคที่เป็นองค์ประกอบหลักของสีเคลือบเพื่อสะท้อนความร้อน Ceramic Coating คือ ไวเดียวโบโรซิลิเกตบริสุทธิ์ (Pure Sodium Borosilicate) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 Micron ซึ่งมีลักษณะเป็นเซลล์ปิด ทำหน้าที่สะท้อนความร้อนที่มีประสิทธิภาพ เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จส่วนประกอบที่เป็นน้ำจะระเหยออกจากสี โดยจะเหลือส่วนประกอบที่เป็นสารอะคริลิค อีมัลชั่น (Acrylic Emulsion) จะทำให้  อนุภาคเซรามิคเหล่านี้ เรียงตัวกันชิดจนเป็นเนื้อเดียวกัน ทำหน้าที่สะท้อนความร้อนออกไป ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนที่เข้าสู่ตัวอาคารผ่านทางหลังคา และผนังอาคารได้เป็นอย่างดี

ส่วนผสมและองค์ประกอบหลักที่สำคัญของระบบสีฉนวนสะท้อนความร้อน

       อะคริลิค อีลาสโตเมอริค เรซิน (Acrylic Elastomeric Resins)

       อีมัลชั่น บิวทูเมนเหลว (Emulsion Liquid Bitumen)

       อีลาสโตเมริค โพลีเมอร์ (Elastomeric Polymer)

       อนุภาคเซรามิค โบโรซิลิเกต (Ceramic Borosilicate Sphere)

       ผงไททาเนี่ยมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)

       น้ำ (Water Base) ใช้เป็นตัวทำละลาย

       ผงสี (Pigment)

 

 

คุณสมบัติของสีเซรามิคโค๊ตติ้ง Ceramic Coating และประโยชน์ที่ได้รับ

  • สามารถยึดเกาะกับพื้นผิวได้ทุกชนิด เช่น เหล็ก คอนกรีต อะลูมิเนียม ฯลฯ
  • อายุการใช้งานยาวนาน และทนต่อรังสี UV, VIS,IR
  • ช่วยลดปัญหาการแตกร้าวของหลังคา และผนังอาคารเนื่องจากการยืดและหดตัวของความร้อน (Thermal Snock)
  • มีค่า Thermal Resistance Value = 3.84 m2 องศา K/W
  • ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายของระบบปรับอากาศ
  • ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ
  • ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ
  • ปลอดภัยและไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นหรือละอองพิษ ไปปะปนกับอากาศและระบบภายในอาคาร ผลิตภัณฑ์มีลักษณะเป็นสีอะคริลิคสูตรน้ำ จึงปราศจากสารพิษไม่ว่าอยู่ในสถานะที่เป็นของเหลาหรือแห้งเป็นชั้น โดยการทดสอบในห้องทดลองพบว่า ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
  • สีไม่ซีดจาง เพราะการใช้กรรมวิธีในการผสมสี ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงและทนทานต่อสภาวะอากาศรังสี UV สีจึงไม่ซีดจาง อายุการใช้งานยาวนานมากกว่า 5-10 ปี (โดยสีฉนวน Ceramic Coating)
  • จะไม่หลุดล่อน, ไม่แตกร้าว, ไม่แตกลายงา, ไม่บวม, ไม่พอง และทนทานต่อสารเคมี กรดและด่าง เช่น กรดแบตเตอรี่, กรดซัลฟลูลิค, สารคลอไรด์ ฯลฯ

 

ติดตั้งง่าย ไม่ต้องรื้อฝ้าเพดาน เพราะติดตั้งภายนอกอาคาร ติดตั้งได้กับพื้นผิวทุกประเภท ได้แก่

  • หลังคาเหล็กรีดลอน (Metal Sheet)
  • หลังคากระเบื้องลอนคู่ (Asbestors)
  • พื้นดาดฟ้า คสล. (Rc Slap)
  • ผนังอาคารภายนอก(Exterior Wall)
  • รางน้ำ คสล. และรางน้ำเหล็ก (Guttef)

 

คุณสมบัติพิเศษของสีเซรามิคโค๊ตติ้ง Ceramic Coating

  • ช่วยสะท้อนรังสีจากแสงอาทิตย์ได้มากกว่า 85% ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศมากกว่า 40%
  • ให้ความยืดหยุ่นของฟิล์ม เมื่อแห้งสนิทจึงทนต่อการบิดตัว หรือแตกร้าวของพื้นผิวหลังคา และผนังอาคารได้เป็นอย่างดี จึงยึดเกาะกับพื้นผิวชนิดต่างๆได้ดี
  • ไม่เป็นพิษ (Non-Toxic) เป็นวัสดุชนิด Water Base ไม่มีสารที่เป็นพิษ และไม่มีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งมีลักษณะเป็นอีมัลชั่น เหมือนสีน้ำเมื่อทาหรือพ่นแล้วทิ้งให้ฟิล์มแห้ง จะเป็นผิวเคลือบที่ไร้รอยต่อ
 

 

 

 



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้